Collection: แฟ้มสะสมผลงาน 2568

การประเมินผลการปฏิบัติงาน รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568

ระบบแฟ้มสะสมผลงาน (e-Portfolio)

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) นี้ ผู้ขอรับการประเมินจัดทําขึ้นเพื่อนําเสนอเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการปฎิบัติงานระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ตามภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติ ตลอดจนพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของผู้ขอรับการประเมิน

Details

Image

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

Details

ภาระงานที่ปฏิบัติงาน (Job Description)

หน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในสำนักงาน ในงานธุรการ งานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ การจัดทำงบประมาณ หรือการบริหารงานทั่วไป เพื่อให้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้
  2. กำกับดูแลการจัดประชุม งานรับรอง และงานพิธีต่าง ๆโดยกำหนดวาระการประชุม จัดเตรียมเอกสารนำเสนอ และร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้การจัดประชุมดำเนินการไปอย่างเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน และกำกับดูและการประชุมต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน
  3. รวมดำเนินการวางแผนงบประมาณรายจ่าย และแผนปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงาน รวมทั้งติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานในภารกิจที่รับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุผลสัมฤทธิ์
  4. กำกับ วางแผนแนวทางการทำงาน แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ในฐานะหัวหน้าเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
  5. ควบคุมการจัดทำและการพัฒนาวิธีการต่าง ๆในงานทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
  6. สรุปผลการติดตามการปฏิบัติตามที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อรายงานและเป็นข้อมูลประกอบของผู้บังคับบัญชา
  7. ในฐานะหัวหน้างาน นอกจากการปฏิบัติงานตามข้อ (1) – (6) ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต้องทำหน้าที่กำหนดแผนงาน มอบหมาย ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
  8. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการวางแผน

  1. วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือฝ่ายงาน มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
  2. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการบริหารจัดการต่าง ๆ ในหน่วยงาน หรือหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในความรับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บุคลากรเกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ

คำสั่งแต่งตั้งบุคลากรปฏิบัติงานตามพันธกิจ

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการจัดการความรู้ 2565

คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างทำความสะอาด

ผลสัมฤทธิ์ของงานตามข้อตกลง

ข้าพเจ้าปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานอำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ชำนาญกาน มีหน้าที่กำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมาก ในการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารงานทั่วไป ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ยาก เพื่อให้การบริหารจัดการภายในสำนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน

โดยสำนักงานอำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของส่วนงานให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ผลสัมฤทธิ์ของงานตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานฯ

  • ภาระงานหลัก (Job Description) ภาระงานตามตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ชำนาญการ ข้าพเจ้ามีปริมาณงานที่ปรากฏในแฟ้มสะสมผลงานว่าครบถ้วนสมบูรณ์ตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
  • คุณภาพผลงาน ความรวดเร็วหรือตรงต่อเวลาตามที่กำหนดหรือความประหยัดหรือความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรโดยข้าพเจ้ามีผลสำเร็จของงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหา ไม่มีข้อร้องเรียน เสร็จตามกำหนดเวลา มีการลดขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อื่น ๆ อีกทั้ง มีการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ความสมบูรณ์ ความเรียบร้อยและความปราณีตของงาน มีความรอบรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่งานที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจทำงานให้สำเร็จโดยไม่ ย่อท้อต่อปัญหา และอุปสรรค โดยงานต่าง ๆ มีกำหนดเสร็จตามเป้าหมาย และมีความประหยัดและความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร 

ผลงานในเชิงพัฒนาที่ผ่านการรับรองจากหัวหน้าส่วนงาน งาน/โครงการ/กิจกรรมข้าพเจ้ามีความสามารถในการคิดริเริ่มปรับปรุงงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิมและเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน โดยข้าพเจ้าได้พัฒนาศักยภาพตนเองตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะให้ดำรงตำแหน่ง ระดับชำนาญการ

ผลสัมฤทธิ์ของภาระงานเพิ่มเติมปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน

1. การบริหารจัดการระบบงานและติดตามงาน

จำนวนโครงการจำแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างมีโครงการรวมทั้งสิ้น 48 รายการ วงเงินทั้งสิ้น 28,471,098.99 บาท พบว่าวิธีการจัดซื้อจัดจ้างสูงที่สุดคือเฉพาะเจาะจง จำนวนเงิน 12,900,084.49 บาท 41 รายการ คิดเป็นร้อยละ 85 รองลงมาคือวิธีคัดเลือก จำนวนเงิน 13,538,014.50 บาท 6 รายการ คิดเป็นร้อยละ 13 และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) จำนวนเงิน 2,033,000 บาท 1 รายการ คิดเป็นร้อยละ 2

เลขานุการคณะกรรมการประเมินผลงานระดับส่วนงาน

เลขานุการที่ประชุมคณะกรรมการประเมินส่วนงานเพื่อแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ

หน้าที่

  1. การเตรียมการก่อนการประชุม
    • หารือกับประธานเพื่อกำหนด วาระในการประชุมโดย
    • ตรวจสอบเวลาคณะกรรมการเบื้องต้น
    • จองห้องประชุม รวมถึงเครื่องดื่ม / อาหารว่าง
    • เชิญประชุม โดยทำหนังสือเชิญผ่านระบบ e-office
    • จัดเตรียมใบลงทะเบียนตามจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
  2. การเตรียมเนื้อหาการประชุม
    • จัดทําเล่มระเบียบวาระการประชุม โดยกําหนดเนื้อหาของแต่ละวาระ รวบรวมเนื้อหาตามวาระ แจ้งประธานเพื่อตรวจสอบเนื้อหา
    • จัดแตรียมเล่มเอกสารประกอบการประชุม ข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้อง
  3. การดําเนินการประชุม
    • ตรวจสอบความพร้อมเอกสารการประชุม / เอกสารประกอบการประชุม / ห้องประชุม / เครื่องดื่ม
    • ดําเนินการประชุมตามระเบียบวาระโดยพิจารณา ตามข้อ 7 (1) (2) แห่งประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนประเภทวิชาชีพ เฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะให้ดํารงตําแหน่ง ระดับชํานาญการ พ.ศ. 2561
    • บันทึกการประชุมตามประเด็นและเนื้อหา
    • สรุปการประชุม
  4. การจัดทํารายงานการประชุม
    • บันทึกการประชุม / สรุปประเด็นที่คณะกรรมการ แสดงความคิดเห็น / มติในที่ประชุม
    • สรุปเนื้อหาการประชุม
    • ตรวจสอบรายงานการประชุม
    • ส่งให้กรรมการรับรองรายงานการประชุม

 ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 3 ราย ดังนี้
1. นางสาวชุติวรรณ ภิญญากรณ์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

2. นางสาวยุพาพร มาชม ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

3. นางสาววรรณภรณ์ นุชเจริญ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

เสนอต่อสัญญาจ้างประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ว่าด้วย การบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2564 หมวด 3 ข้อ 30 (1) (2) โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้พิจารณาแนวทางการต่อสัญญาจ้างของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน รายละเอียดประกอบการต่อสัญญาจ้าง เอกสารประกอบผลงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลงานในเชิงพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ซึ่งผ่านการรับรองจากหัวหน้าส่วนงานของบุคลากรในสังกัดให้เป็นไปตามประกาศ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และแนวปฏิบัติการต่อสัญญาจ้าง พนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนเรียบร้อยแล้ว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 5 ราย มีรายนามดังนี้

1. นายนิพนธ์ เศวตจามร ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ

2. นางสาววณี กิมเรือง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา

3. นางสาววรรณภรณ์ นุชเจริญ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

4. นางสาวกุลจิรา แก้วสุจริต ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

5. นางสาวมุทิตา สร้อยเพชร  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา

ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. 2566 – 2570

กลุ่ม 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-based and Community Engagement)

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการการศึกษา รูปแบบของการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นและรวดเร็วตามบริบทของสังคม แนวนโยบายของรัฐและความเป็นโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้สถาบันการศึกษาต้องเปลี่ยนแนวคิดวิธีทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การนำแนวคิดทางธุรกิจ รวมทั้งหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการให้มีบทบาทมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา การพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ทำให้หน่วยงานต่าง ๆภายในสถาบันต้องมีการปรับบทบาทของการทำงานให้มีการบูรณาการกันมากขึ้น การใช้ประสิทธิภาพของบุคลากรให้เต็มศักยภาพและสามารถทำงานได้หลากหลายภารกิจเพื่อตอบสนองกลยุทธ์ในการจัดการขององค์กร

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ฉบับนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานและเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการการศึกษาจากสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค นำมากำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนปฏิบัติงานกับแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ.2566-2570 และทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จิ๋ว แต่ แจ๋ว จุดเน้นสวนดุสิต พ.ศ.2563-2567 ซึ่งการดำเนินงานแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะบรรลุตามเป้าหมายความสำเร็จที่กำหนดไว้ต้องได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายงานระดมความคิดร่วมกันผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งยังเป็นกรอบแนวทางในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการพัฒนาคุณาภาพการศึกษาที่มุ่งหวังสอดผสานกับแนวทางชีวิตวิถึใหม่

วัตถุประสงค์              

  1. ยกระดับคุณภาพการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และพัฒนา Platform เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย
  2. พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะอนาคตและตอบสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกช่วงวัยนำไปสู่ธุรกิจวิชาการ
  3. พัฒนาศักยภาพบุคลากร และสร้างเครือข่ายความเป็นเลิศที่พร้อมต่อการให้บริการให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruption)

การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน (Infrastructure services)

  1. ความเสถียรของระบบสนับสนุนการทำงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างพื้นฐานที่หลากหลาย การบริการดิจิทัล โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความมั่นคง ปลอดภัย ตลอดจนมีการให้บริการดิจิทัลที่ครอบคลุมและเข้าถึงการใช้งานทุกที่ทุกเวลา
  1. พื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสวนดุสิต คาเฟ่ ไลบรารี่ พื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน พื้นที่กิจกรรม ระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และเนนการจัดพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ให้กับอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้สืบค้นความรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด แบ่งปันพืนที่การำงานและการเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างชุมชมและสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  1. สภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยที่สวยสะอาดและใส่ใจสิ่งแวดล้อม การออกแบบที่เป็นสากลเพื่อคนทั้งมวล โดยมุ่งเน้นการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาสุ่การเป็นมหาวิทยาลัยที่สวยงาม สะอาด ปลอดภัย ส่งเสริมการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน มีระบบการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการออกแบบพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทุกคนในสังคมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน
  1. ระบบสนับสนุนผู้เรียน ระบบการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ ทุนการศึกษา การบริการด้านสุขภาพ การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาด้านวิชาการ โดยระบบที่ออกแบบสำหรับการช่วยเหลือนักศึกษาในระหว่างเรียน อาทิ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบจัดหาทุนการศึกษา บริการด้านการดูแลสุขภาพนักศึกษา และการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาด้านวิชาการ

2. สมรรถนะผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยได้จัดทำมาตรฐานสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 7 สมรรถนะ เพื่อใช้ในการจัดการคุณภาพผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัย  ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล คือ  การใช้ระบบการบริหารทุนมนุษย์ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน (Performance enhancement of human capital management system) และนำระบบสมรรถนะ (Competency-based management) มาเป็นฐานในการบริหารงานบุคคล  รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ทั้ง 7 สมรรถนะ  ได้กำหนดให้สอดคล้องกับ “ทิศทางของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต : จิ๋วแต่ แจ๋ว พ.ศ. 2564-2567 : SDU Directions : SMALL  but  SMART”  ในจุดมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ “องค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง: Adaptive organization ” ส่วนที่เป็น SDU Guiding GROW Value และการสร้างและหล่อหลอมคนสวนดุสิต : Reshaping SDU Staff   มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้

  1. ค่านิยมความเป็นสวนดุสิต (SDU Guiding GROW Values) มีกรอบความคิดที่เปิดกว้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนสิ่งเดิม คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเชิงบวก เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าสู่วิถีใหม่ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของมหาวิทยาลัยโดยภาพรวม มีวัตรปฏิบัติที่ดีงามแบบสวนดุสิต ด้วย การมีบุคลิกลักษณะที่โดดเด่น อันแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะ ของแต่ละสายงาน นอบน้อมถ่อมตน พิถีพิถัน รู้กาลเทศะ ใส่ใจต่อสิ่งรอบข้าง เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อการเรียนรู้ อุทิศตนเพื่อมหาวิทยาลัย ทำงานแบบมีส่วนร่วม เสียสละ เอื้ออาทร รักและศรัทธาในมหาวิทยาลัย มีคุณธรรมและความโปร่งใส พร้อมรับทั้งผิดและรับชอบ ทำงานทุกอย่างด้วยความปราณีต มีคุณภาพ และมีความเป็นสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย
  2. การเปิดกว้างทางความคิดอย่างอิสระและการคิดสร้างสรรค์ (Empowering ideas and creative thinking) สร้างแนวความคิดที่ทรงพลัง คิดนอกกรอบ คิดในมุมมองใหม่ ๆ คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และ นำความคิดดังกล่าวไปสู่ปฏิบัติจริงจนเป็นผลสำเร็จ
  3. การปฏิบัติงานและสร้างงานคุณภาพด้วยความมุ่งมั่น ฝักใฝ่ในงาน เพื่อยกระดับการทำงานที่แสดงให้เห็นถึงความประณีตและมีความเป็นมืออาชีพ (Passion - driven performance) การมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน และสร้างงานคุณภาพ ยกระดับการปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงความปราณีตและความเป็นมืออาชีพ กำหนดเป้าหมายของผลงานไว้ให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานปกติ วางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และพยายามดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ด้วยความเสียสละ อดทน และมุ่งมั่นด้วยจิตสำนึกแห่งคุณภาพและความรับผิดชอบ
  4. การคิดเชิงออกแบบเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Design thinking) สามารถจัดการความรู้จากหลาย ๆ สาขาจนเกิดองค์ความรู้ แล้วนำเอาองค์ความรู้ดังกล่าวไปสร้างความคิดเชิงจินตนาการ และนำเอาความคิดเชิงจินตนาการดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติงานจริงอย่างเป็นระบบจนเกิดเป็นนวัตกรรม หรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  
  5. การตระหนักรู้ถึงลำดับความสำคัญและภาวะความเร่งด่วน (Sense of priorities and urgency) ตระหนักรู้ถึงความสำคัญและภาวะความเร่งด่วนของแต่ละภารกิจ ที่ได้รับมอบหมาย และ สามารถปฏิบัติภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ สำเร็จบนพื้นฐานของความสำคัญและความเร่งด่วนของแต่ละภารกิจ เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน
  6. การมีทักษะใหม่ที่จำเป็น (New Skills) สามารถประมวลผลข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์  แปลความหมาย และจัดให้เป็นชุดข้อมูลซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถจัดการความคิดในการรับรู้ข้อมูล ด้วยการจัดลำดับ เลือกสรรข้อมูลหรือสารสนเทศที่มีความสำคัญออกมาจากข้อมูลจำนวนมาก และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวกับข้อมูลสารสนเทศเดิมให้เกิดความรู้ใหม่ให้เป็นประโยชน์ได้จริง ความสามารถในการเรียนรู้ข้ามศาสตร์  เข้าใจในเนื้อหาและเชื่อมโยง ไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง โดยไม่ติดยึดอยู่กับศาสตร์หนึ่งศาสตร์ใดโดยเฉพาะ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว มีทักษะการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
  7. ความเชี่ยวชาญในการลงมือปฏิบัติและรู้จริงในสิ่งที่ทำ (Professional by hands) พัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและรู้จริงในสิ่งที่ทำ

ซึ่ง 7 สมรรถนะดังกล่าว คือ การสร้างและหล่อหลอมคนสวนดุสิตให้เป็นไปตามทิศทางของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปฏิบัติงานสนับสนุนการบริหารงานของมหาวิทยาลัย โดยมีพฤติกรรมที่คาดหวังกำหนดไว้ให้มหาวิทยาลัยได้ประเมินการปฏิบัติงาน และพัฒนาผู้ปฏิบัติงานต่อไป

ประสบการณ์และความสำเร็จของงาน

2.1 การเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรตนเอง

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สนับสนุนและวางแผนระบบการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรทุกกลุ่ม ทุกระดับ โดยจัดทำเส้นทางการพัฒนาบุคลากรตั้ง ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับต้น ซึ่งข้าพเจ้าปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานอำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สู่ความเป็นผู้บริหารมีศักยภาพสูง (พบส.) รุ่นที่ 1 เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ และเตรียมความพร้อมให้กลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ในการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของหน่วยงาน และมีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ สม่ำเสมอ ตามหน้าที่งานหรือตาม Competency ของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติได้ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงไปหรือตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้อย่างเต็มความสามารถและเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีรูปแบบการจัดการโครงที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ จากเดิมที่จัดแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว ได้เปลี่ยนเป็นการจัดแบบมีส่วนร่วม เรียนรู้แบบ Active Learning เรียนรู้จากกรณีศึกษามากขึ้น เพื่อให้บุคลากรได้คิด วิเคราะห์ และใช้ความสามารถที่มีร่วมพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต

จากการเข้าร่วมพัฒนาตนเองของมหาวิทยาลัย นำนโยบาย และแผนงานมหาวิทยาลัย ทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต : จิ๋ว แต่ แจ๋ว จุดเน้นสวนดุสิต พ.ศ. 2663-2567 สู่การปฏิบัติและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองเมื่อพัฒนาตนเองแล้วจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนานั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานและมหาวิทยาลัยได้ โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่ให้การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน (Infrastructure services) ที่ให้บริการด้านทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนในการบริหารจัดการ การดำเนินงาน การเรียนการสอนและการบริการวิชาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสำนักวิทยบริการฯต้องมีการดำเนินการตามจุดเน้นเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนา Platform เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะอนาคตและตอบสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนการเรียนรู้ในทุกช่วงวัยนำไปสู่ธุรกิจวิชาการ รวมถึงพัฒนาศักยภาพบุคลากร และสร้างเครือข่ายความเป็นเลิศที่พร้อมต่อการให้บริการให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruption) และประโยชน์ที่ได้รับจากท่านวิทยากรที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นให้กับผู้เข้ารับการอบรม ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้พัฒนาการบริหารหน่วยงานของตนเอง พัฒนามหาวิทยาลัยได้ในอนาคต แต่สิ่งสำคัญที่สุดการพัฒนาตนเองคือการมีจิตใจที่มุ่งมั่นในการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนี้ 

  1. ช่วยทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหน่วยงาน
  2. ช่วยเพิ่มทักษะเชิงกลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จของการทำงานและช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานได้
  3. ช่วยทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว
  4. ช่วยทำให้หน่วยงานของตนเองมีการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruption) 
  5. ช่วยทำให้ได้ผลการทำงานมีคุณภาพ ลดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาทรัพยากรและกำลังคน
  6. ช่วยทำให้มีความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ เทคนิค วิธีการ ด้วยวิธีการทำงานที่เหมาะสม ลดปัญหาอุปสรรค และมีความสุขในการทำงาน

Comments


    Add comment

    Fields marked by '*' are required.