ระบบแฟ้มสะสมผลงาน (e-Portfolio)
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) นี้ ผู้ขอรับการประเมินจัดทําขึ้นเพื่อนําเสนอเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการปฎิบัติงานระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ตามภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติ ตลอดจนพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของผู้ขอรับการประเมิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ภาระงานที่ปฏิบัติงาน (Job Description)
หน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในสำนักงาน ในงานธุรการ งานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ การจัดทำงบประมาณ หรือการบริหารงานทั่วไป เพื่อให้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้
- กำกับดูแลการจัดประชุม งานรับรอง และงานพิธีต่าง ๆโดยกำหนดวาระการประชุม จัดเตรียมเอกสารนำเสนอ และร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้การจัดประชุมดำเนินการไปอย่างเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน และกำกับดูและการประชุมต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน
- รวมดำเนินการวางแผนงบประมาณรายจ่าย และแผนปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงาน รวมทั้งติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานในภารกิจที่รับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุผลสัมฤทธิ์
- กำกับ วางแผนแนวทางการทำงาน แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ในฐานะหัวหน้าเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
- ควบคุมการจัดทำและการพัฒนาวิธีการต่าง ๆในงานทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
- สรุปผลการติดตามการปฏิบัติตามที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อรายงานและเป็นข้อมูลประกอบของผู้บังคับบัญชา
- ในฐานะหัวหน้างาน นอกจากการปฏิบัติงานตามข้อ (1) – (6) ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต้องทำหน้าที่กำหนดแผนงาน มอบหมาย ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ด้านการวางแผน
- วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือฝ่ายงาน มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ด้านการบริการ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการบริหารจัดการต่าง ๆ ในหน่วยงาน หรือหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในความรับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บุคลากรเกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
คำสั่งแต่งตั้งบุคลากรปฏิบัติงานตามพันธกิจสำนักวิทยบริการฯ
คณะกรรมการปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์
การเพิ่มพูนความรู้/การพัฒนาศักยภาพตนเอง
ผลสัมฤทธิ์ของงานตามข้อตกลง
ข้าพเจ้าปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานอำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ชำนาญกาน มีหน้าที่กำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมาก ในการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารงานทั่วไป ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ยาก เพื่อให้การบริหารจัดการภายในสำนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน
โดยสำนักงานอำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของส่วนงานให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ผลสัมฤทธิ์ของงานตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานฯ
- ภาระงานหลัก (Job Description) ภาระงานตามตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ชำนาญการ ข้าพเจ้ามีปริมาณงานที่ปรากฏในแฟ้มสะสมผลงานว่าครบถ้วนสมบูรณ์ตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
- คุณภาพผลงาน ความรวดเร็วหรือตรงต่อเวลาตามที่กำหนดหรือความประหยัดหรือความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรโดยข้าพเจ้ามีผลสำเร็จของงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหา ไม่มีข้อร้องเรียน เสร็จตามกำหนดเวลา มีการลดขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อื่น ๆ อีกทั้ง มีการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ความสมบูรณ์ ความเรียบร้อยและความปราณีตของงาน มีความรอบรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่งานที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจทำงานให้สำเร็จโดยไม่ ย่อท้อต่อปัญหา และอุปสรรค โดยงานต่าง ๆ มีกำหนดเสร็จตามเป้าหมาย และมีความประหยัดและความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร
ผลงานในเชิงพัฒนาที่ผ่านการรับรองจากหัวหน้าส่วนงาน งาน/โครงการ/กิจกรรมข้าพเจ้ามีความสามารถในการคิดริเริ่มปรับปรุงงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิมและเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน โดยข้าพเจ้าได้พัฒนาศักยภาพตนเองตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะให้ดำรงตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
ผลสัมฤทธิ์ของภาระงานเพิ่มเติมปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน
HR-PerformanceManagement
1. การบริหารจัดการระบบงานและติดตามงาน
จำนวนโครงการจำแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างมีโครงการรวมทั้งสิ้น 48 รายการ วงเงินทั้งสิ้น 28,471,098.99 บาท พบว่าวิธีการจัดซื้อจัดจ้างสูงที่สุดคือเฉพาะเจาะจง จำนวนเงิน 12,900,084.49 บาท 41 รายการ คิดเป็นร้อยละ 85 รองลงมาคือวิธีคัดเลือก จำนวนเงิน 13,538,014.50 บาท 6 รายการ คิดเป็นร้อยละ 13 และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) จำนวนเงิน 2,033,000 บาท 1 รายการ คิดเป็นร้อยละ 2
เลขานุการคณะกรรมการประเมินผลงานระดับส่วนงาน
เลขานุการที่ประชุมคณะกรรมการประเมินส่วนงานเพื่อแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
หน้าที่
- การเตรียมการก่อนการประชุม
- หารือกับประธานเพื่อกำหนด วาระในการประชุมโดย
- ตรวจสอบเวลาคณะกรรมการเบื้องต้น
- จองห้องประชุม รวมถึงเครื่องดื่ม / อาหารว่าง
- เชิญประชุม โดยทำหนังสือเชิญผ่านระบบ e-office
- จัดเตรียมใบลงทะเบียนตามจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
- การเตรียมเนื้อหาการประชุม
- จัดทําเล่มระเบียบวาระการประชุม โดยกําหนดเนื้อหาของแต่ละวาระ รวบรวมเนื้อหาตามวาระ แจ้งประธานเพื่อตรวจสอบเนื้อหา
- จัดแตรียมเล่มเอกสารประกอบการประชุม ข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้อง
- การดําเนินการประชุม
- ตรวจสอบความพร้อมเอกสารการประชุม / เอกสารประกอบการประชุม / ห้องประชุม / เครื่องดื่ม
- ดําเนินการประชุมตามระเบียบวาระโดยพิจารณา ตามข้อ 7 (1) (2) แห่งประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนประเภทวิชาชีพ เฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะให้ดํารงตําแหน่ง ระดับชํานาญการ พ.ศ. 2561
- บันทึกการประชุมตามประเด็นและเนื้อหา
- สรุปการประชุม
- การจัดทํารายงานการประชุม
- บันทึกการประชุม / สรุปประเด็นที่คณะกรรมการ แสดงความคิดเห็น / มติในที่ประชุม
- สรุปเนื้อหาการประชุม
- ตรวจสอบรายงานการประชุม
- ส่งให้กรรมการรับรองรายงานการประชุม
เสนอต่อสัญญาจ้างประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ว่าด้วย การบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2564 หมวด 3 ข้อ 30 (1) (2) โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้พิจารณาแนวทางการต่อสัญญาจ้างของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน รายละเอียดประกอบการต่อสัญญาจ้าง เอกสารประกอบผลงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลงานในเชิงพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ซึ่งผ่านการรับรองจากหัวหน้าส่วนงานของบุคลากรในสังกัดให้เป็นไปตามประกาศ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และแนวปฏิบัติการต่อสัญญาจ้าง พนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนเรียบร้อยแล้ว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 29 ราย
ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. 2566 – 2570
กลุ่ม 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-based and Community Engagement)
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการการศึกษา รูปแบบของการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นและรวดเร็วตามบริบทของสังคม แนวนโยบายของรัฐและความเป็นโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้สถาบันการศึกษาต้องเปลี่ยนแนวคิดวิธีทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การนำแนวคิดทางธุรกิจ รวมทั้งหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการให้มีบทบาทมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา การพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ทำให้หน่วยงานต่าง ๆภายในสถาบันต้องมีการปรับบทบาทของการทำงานให้มีการบูรณาการกันมากขึ้น การใช้ประสิทธิภาพของบุคลากรให้เต็มศักยภาพและสามารถทำงานได้หลากหลายภารกิจเพื่อตอบสนองกลยุทธ์ในการจัดการขององค์กร
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ฉบับนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานและเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการการศึกษาจากสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค นำมากำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนปฏิบัติงานกับแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ.2566-2570 และทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จิ๋ว แต่ แจ๋ว จุดเน้นสวนดุสิต พ.ศ.2563-2567 ซึ่งการดำเนินงานแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะบรรลุตามเป้าหมายความสำเร็จที่กำหนดไว้ต้องได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายงานระดมความคิดร่วมกันผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งยังเป็นกรอบแนวทางในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการพัฒนาคุณาภาพการศึกษาที่มุ่งหวังสอดผสานกับแนวทางชีวิตวิถึใหม่
วัตถุประสงค์
- ยกระดับคุณภาพการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และพัฒนา Platform เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย
- พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะอนาคตและตอบสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกช่วงวัยนำไปสู่ธุรกิจวิชาการ
- พัฒนาศักยภาพบุคลากร และสร้างเครือข่ายความเป็นเลิศที่พร้อมต่อการให้บริการให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruption)
การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน (Infrastructure services)
- ความเสถียรของระบบสนับสนุนการทำงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างพื้นฐานที่หลากหลาย การบริการดิจิทัล โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความมั่นคง ปลอดภัย ตลอดจนมีการให้บริการดิจิทัลที่ครอบคลุมและเข้าถึงการใช้งานทุกที่ทุกเวลา
- พื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสวนดุสิต คาเฟ่ ไลบรารี่ พื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน พื้นที่กิจกรรม ระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และเนนการจัดพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ให้กับอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้สืบค้นความรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด แบ่งปันพืนที่การำงานและการเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างชุมชมและสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- สภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยที่สวยสะอาดและใส่ใจสิ่งแวดล้อม การออกแบบที่เป็นสากลเพื่อคนทั้งมวล โดยมุ่งเน้นการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาสุ่การเป็นมหาวิทยาลัยที่สวยงาม สะอาด ปลอดภัย ส่งเสริมการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน มีระบบการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการออกแบบพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทุกคนในสังคมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน
- ระบบสนับสนุนผู้เรียน ระบบการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ ทุนการศึกษา การบริการด้านสุขภาพ การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาด้านวิชาการ โดยระบบที่ออกแบบสำหรับการช่วยเหลือนักศึกษาในระหว่างเรียน อาทิ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบจัดหาทุนการศึกษา บริการด้านการดูแลสุขภาพนักศึกษา และการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาด้านวิชาการ
2. สมรรถนะผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยได้จัดทำมาตรฐานสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 7 สมรรถนะ เพื่อใช้ในการจัดการคุณภาพผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล คือ การใช้ระบบการบริหารทุนมนุษย์ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน (Performance enhancement of human capital management system) และนำระบบสมรรถนะ (Competency-based management) มาเป็นฐานในการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ทั้ง 7 สมรรถนะ ได้กำหนดให้สอดคล้องกับ “ทิศทางของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต : จิ๋วแต่ แจ๋ว พ.ศ. 2564-2567 : SDU Directions : SMALL but SMART” ในจุดมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ “องค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง: Adaptive organization ” ส่วนที่เป็น SDU Guiding GROW Value และการสร้างและหล่อหลอมคนสวนดุสิต : Reshaping SDU Staff มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้
- ค่านิยมความเป็นสวนดุสิต (SDU Guiding GROW Values) มีกรอบความคิดที่เปิดกว้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนสิ่งเดิม คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเชิงบวก เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าสู่วิถีใหม่ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของมหาวิทยาลัยโดยภาพรวม มีวัตรปฏิบัติที่ดีงามแบบสวนดุสิต ด้วย การมีบุคลิกลักษณะที่โดดเด่น อันแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะ ของแต่ละสายงาน นอบน้อมถ่อมตน พิถีพิถัน รู้กาลเทศะ ใส่ใจต่อสิ่งรอบข้าง เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อการเรียนรู้ อุทิศตนเพื่อมหาวิทยาลัย ทำงานแบบมีส่วนร่วม เสียสละ เอื้ออาทร รักและศรัทธาในมหาวิทยาลัย มีคุณธรรมและความโปร่งใส พร้อมรับทั้งผิดและรับชอบ ทำงานทุกอย่างด้วยความปราณีต มีคุณภาพ และมีความเป็นสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย
- การเปิดกว้างทางความคิดอย่างอิสระและการคิดสร้างสรรค์ (Empowering ideas and creative thinking) สร้างแนวความคิดที่ทรงพลัง คิดนอกกรอบ คิดในมุมมองใหม่ ๆ คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และ นำความคิดดังกล่าวไปสู่ปฏิบัติจริงจนเป็นผลสำเร็จ
- การปฏิบัติงานและสร้างงานคุณภาพด้วยความมุ่งมั่น ฝักใฝ่ในงาน เพื่อยกระดับการทำงานที่แสดงให้เห็นถึงความประณีตและมีความเป็นมืออาชีพ (Passion - driven performance) การมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน และสร้างงานคุณภาพ ยกระดับการปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงความปราณีตและความเป็นมืออาชีพ กำหนดเป้าหมายของผลงานไว้ให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานปกติ วางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และพยายามดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ด้วยความเสียสละ อดทน และมุ่งมั่นด้วยจิตสำนึกแห่งคุณภาพและความรับผิดชอบ
- การคิดเชิงออกแบบเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Design thinking) สามารถจัดการความรู้จากหลาย ๆ สาขาจนเกิดองค์ความรู้ แล้วนำเอาองค์ความรู้ดังกล่าวไปสร้างความคิดเชิงจินตนาการ และนำเอาความคิดเชิงจินตนาการดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติงานจริงอย่างเป็นระบบจนเกิดเป็นนวัตกรรม หรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- การตระหนักรู้ถึงลำดับความสำคัญและภาวะความเร่งด่วน (Sense of priorities and urgency) ตระหนักรู้ถึงความสำคัญและภาวะความเร่งด่วนของแต่ละภารกิจ ที่ได้รับมอบหมาย และ สามารถปฏิบัติภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ สำเร็จบนพื้นฐานของความสำคัญและความเร่งด่วนของแต่ละภารกิจ เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน
- การมีทักษะใหม่ที่จำเป็น (New Skills) สามารถประมวลผลข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์ แปลความหมาย และจัดให้เป็นชุดข้อมูลซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถจัดการความคิดในการรับรู้ข้อมูล ด้วยการจัดลำดับ เลือกสรรข้อมูลหรือสารสนเทศที่มีความสำคัญออกมาจากข้อมูลจำนวนมาก และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวกับข้อมูลสารสนเทศเดิมให้เกิดความรู้ใหม่ให้เป็นประโยชน์ได้จริง ความสามารถในการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ เข้าใจในเนื้อหาและเชื่อมโยง ไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง โดยไม่ติดยึดอยู่กับศาสตร์หนึ่งศาสตร์ใดโดยเฉพาะ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว มีทักษะการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
- ความเชี่ยวชาญในการลงมือปฏิบัติและรู้จริงในสิ่งที่ทำ (Professional by hands) พัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและรู้จริงในสิ่งที่ทำ
ซึ่ง 7 สมรรถนะดังกล่าว คือ การสร้างและหล่อหลอมคนสวนดุสิตให้เป็นไปตามทิศทางของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปฏิบัติงานสนับสนุนการบริหารงานของมหาวิทยาลัย โดยมีพฤติกรรมที่คาดหวังกำหนดไว้ให้มหาวิทยาลัยได้ประเมินการปฏิบัติงาน และพัฒนาผู้ปฏิบัติงานต่อไป
ประสบการณ์และความสำเร็จของงาน
2.1 การเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรตนเอง
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สนับสนุนและวางแผนระบบการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรทุกกลุ่ม ทุกระดับ โดยจัดทำเส้นทางการพัฒนาบุคลากรตั้ง ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับต้น ซึ่งข้าพเจ้าปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานอำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สู่ความเป็นผู้บริหารมีศักยภาพสูง (พบส.) รุ่นที่ 1 เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ และเตรียมความพร้อมให้กลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ในการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของหน่วยงาน และมีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ สม่ำเสมอ ตามหน้าที่งานหรือตาม Competency ของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติได้ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงไปหรือตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้อย่างเต็มความสามารถและเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีรูปแบบการจัดการโครงที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ จากเดิมที่จัดแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว ได้เปลี่ยนเป็นการจัดแบบมีส่วนร่วม เรียนรู้แบบ Active Learning เรียนรู้จากกรณีศึกษามากขึ้น เพื่อให้บุคลากรได้คิด วิเคราะห์ และใช้ความสามารถที่มีร่วมพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต
จากการเข้าร่วมพัฒนาตนเองของมหาวิทยาลัย นำนโยบาย และแผนงานมหาวิทยาลัย ทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต : จิ๋ว แต่ แจ๋ว จุดเน้นสวนดุสิต พ.ศ. 2663-2567 สู่การปฏิบัติและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองเมื่อพัฒนาตนเองแล้วจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนานั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานและมหาวิทยาลัยได้ โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่ให้การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน (Infrastructure services) ที่ให้บริการด้านทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนในการบริหารจัดการ การดำเนินงาน การเรียนการสอนและการบริการวิชาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสำนักวิทยบริการฯต้องมีการดำเนินการตามจุดเน้นเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนา Platform เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะอนาคตและตอบสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนการเรียนรู้ในทุกช่วงวัยนำไปสู่ธุรกิจวิชาการ รวมถึงพัฒนาศักยภาพบุคลากร และสร้างเครือข่ายความเป็นเลิศที่พร้อมต่อการให้บริการให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruption) และประโยชน์ที่ได้รับจากท่านวิทยากรที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นให้กับผู้เข้ารับการอบรม ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้พัฒนาการบริหารหน่วยงานของตนเอง พัฒนามหาวิทยาลัยได้ในอนาคต แต่สิ่งสำคัญที่สุดการพัฒนาตนเองคือการมีจิตใจที่มุ่งมั่นในการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนี้
- ช่วยทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหน่วยงาน
- ช่วยเพิ่มทักษะเชิงกลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จของการทำงานและช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานได้
- ช่วยทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว
- ช่วยทำให้หน่วยงานของตนเองมีการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruption)
- ช่วยทำให้ได้ผลการทำงานมีคุณภาพ ลดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาทรัพยากรและกำลังคน
- ช่วยทำให้มีความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ เทคนิค วิธีการ ด้วยวิธีการทำงานที่เหมาะสม ลดปัญหาอุปสรรค และมีความสุขในการทำงาน